ระเบียบและข้อปฏิบัติชมรม


ระเบียบและข้อปฏิบัติชมรมเจ้าพนักงานเภสัชกรรม จังหวัดศรีสะเกษ


1. สถานที่ตั้งชมรมเจ้าพนักงานเภสัชกรรม จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ


2. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งชมรมเจ้าพนักงานเภสัชกรรม

2.1 เพื่อส่งเสริมความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างเพื่อนสมาชิก
2.2 จัดให้มีสวัสดิการสงเคราะห์แก่สมาชิก
2.3 รักษาผลประโยชน์ของสมาชิก โดยไม่ขัดต่อระเบียบกฎหมาย ศีลธรรมอันดี


3. กิจกรรมของชมรม

3.1 มีการแจ้งการประชุม และข่าวสารแก่สมาชิกในชมรม
3.2 ร่วมกิจกรรมของชมรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในสาขาวิชาชีพเภสัชกรรมและสหวิชาชีพ
3.3 มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินกิจกรรมของชมรม
3.4 มีการประชุมสมาชิกชมรมฯ ทุกเดือน
3.5 ช่วยเหลือสมาชิกของชมรมฯ ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย คลอดบุตร งานศพ งานเกษียณอายุ 

และกิจกรรมอื่นๆตามเห็นสมควร เป็นต้น

4. ประเภทของสมาชิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

4.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ
4.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่มีอุปการะคุณแก่ชมรมฯ


5. สิทธิของสมาชิก

5.1 ได้รับการช่วยเหลือในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจกรรมอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของชมรมฯ เท่าที่จะอำนวยได้
5.2 เสนอความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำแก่ชมรมฯ หรือคณะกรรมการของชมรมฯ เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุง

การดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ
5.3 ขอตรวจสอบทรัพย์สิน หนี้สิน และบัญชีต่างๆของชมรมได้
5.4 มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม หรือสิทธิในการรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการของชมรมฯ


6. หน้าที่ของสมาชิก

6.1 ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของชมรมฯ มติที่ประชุมของคณะกรรมการ และหน้าที่ของชมรมฯตามที่ได้รับมอบหมาย 

ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยเคร่งครัด
6.2 ต้องรักษาเกียรติ ผลประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของชมรมฯ ตลอดจนรักษาความลับในที่ประชุม 

หรือวิธีการของชมรมฯ รวมทั้งห้ามเปิดเผยข้อความ   ที่ซึ่งอาจจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ชมรมฯ โดยเด็ดขาด
6.3 ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมของชมรมฯ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
6.4 ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีของสมาชิก
6.5 ชำระค่าสมัคร ค่าบำรุงชมรมฯ ตามกำหนด
6.6 สมาชิกท่านใด เปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ สถานที่ทำงานต้องแจ้งให้ที่ประชุมหรือคณะกรรมการทราบ


7. การลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก

7.1 ค่าบำรุงชมรม 100 บาท / ปี (กำหนดชำระตามปีงบประมาณ โดยชำระภายในวันที่ 30 กันยายน)


8. การขาดจากการเป็นสมาชิกภาพ

8.1 ตาย
8.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการของชมรมฯ


9. คณะกรรมการของชมรมฯ

9.1 การเลือกตั้งคณะกรรมการของชมรมฯ ให้มีการเลือกตั้งขึ้นหนึ่งคณะ ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงาน เพื่อให้เป็นไป

ตามวัตถุประสงค์ของชมรมฯ และต้องเป็นผู้แทนของชมรมฯ  ในกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับบุคคลภายนอก
คณะกรรมการประกอบด้วยสมาชิก สามัญ ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่และสมาชิกกิตติมศักดิ์
9.2 การพ้นจากคณะกรรมการของชมรมฯ
- ครบกำหนดตามวาระๆละ 2 ปี
- ลาออกโดยคณะกรรมการของชมรมฯ ได้ลงมติอนุมัติแล้ว
- มีมติจากคณะกรรมการบริหารชมรมฯ ให้พ้นจากการเป็นคณะกรรมการ โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3
- พ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญ
9.3 กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก่อนครบกำหนดตามวาระคณะกรรมการอาจตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่ง

ให้เป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งนี้  ให้เป็นไปได้ตามวาระของผู้ที่ตนแทน
9.4 องค์ประชุมของคณะกรรมการชมรมฯ ในการประชุมของคณะกรรมการชมรมฯ จะต้องมีกรรมการประชุม 2 ใน 3 

ของคณะกรรมการทั้งหมด จึงจะนับว่าครบองค์ประชุม เว้นแต่ในขณะที่มีการประชุมคณะกรรมการของชมรมฯ 
ครั้งนั้น ๆ จะมีกรรมการในคณะกรรมการของชมรมฯ น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
9.5 การประชุมคณะกรรมการของชมรมฯ ให้มีการประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง อนึ่งในกรณีจำเป็น ประธานกรรมการ

ของชมรมฯ หรือกรรมการรวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน สามารถเรียกประชุมพิเศษได้

10. การประชุมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

10.1 การประชุมสามัญประจำปี คือ การประชุมใหญ่ที่จะต้องมีขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
10.2 การประชุมวิสามัญ คือ การประชุมครั้งอื่นๆ นอกเหนือจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปี


11. กำหนดการประชุมสามัญ

11.1 ให้คณะกรรมการ จัดประชุมสามัญประจำปี ก่อนครบกำหนดวาระภายใน 30 วัน เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้ง

คณะกรรมการชุดใหม่
11.2 จัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี เพื่อให้คณะกรรมการชุดเดิมได้สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 

และให้คณะกรรมการ ชุดใหม่ได้แถลงนโยบายที่จะดำเนินการ  กิจกรรมของชมรมฯ

12. หน้าที่หลักของคณะกรรมการชมรมฯ มีดังนี้

12.1 ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของชมรมฯ ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และมติของที่ประชุม
12.2 แต่งตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการของชมรมฯ
12.3 วางระเบียบในการปฏิบัติงานของชมรมฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
12.4 แถลงนโยบายการบริหารงานของชมรมฯ ในที่ประชุมสามัญประจำปี
12.5. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับวิชาชีพและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 

แก่สมาชิกชมรม หรือผู้ที่สนใจทั่วไป
12.6. เพื่อสร้างเครือข่ายวิชาชีพเจ้าพนักงานเภสัชกรรมให้มีความเข้มแข็ง
12.7 เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันให้สมาชิกมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
12.8 เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม ประเทศชาติ
12.9 เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และทัศนคติในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมของจังหวัดศรีสะเกษ

และ จังหวัดอื่น
12.10 เป็นผู้แทนในการดำเนินการของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในการติดต่อ ประสานงาน ประชุม กับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

อันเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกของชมรมฯ
12.11 เป็นตัวแทนในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาเร่งด่วน ที่จะส่งผลกระทบต่อวิชาชีพเจ้าพนักงานเภสัชกรรม